เสน่ห์ขนมไทย
“ขนม” เป็นของกินเล่นยามว่าง เป็นอาหารเบา ๆ มีหลากหลายชนิด หลายรสชาติ
หลายรูปแบบ
ขนมมีอิทธิพลต่อการกินและชีวิตความเป็นอยู่อย่างมาก คำว่า “ขนม” มีใช้มาหลายร้อยปียากจะสันนิฐานแน่นอนได้
เช่นเดียวกับไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่า “ขนมไทย” เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยใดเป็นครั้งแรก
แต่ตามประวัติศาสตร์ไทยมีหลักฐานตอนหนึ่งว่า มีการจารึกชื่อขนมในแท่งศิลาจารึก
เป็นการจารึกแบบลายแทงสมัยโบราณ ขนมที่ปรากฏคือ
” ไข่กบ นกปล่อย
มะลิลอย อ้ายตื้อ “ ผู้หลักผู้ใหญ่คนโบราณ
ได้อธิบายความหมายของขนมเหล่านี้ไว้ว่า
ไข่กบ หมายถึง เม็ดแมงลักที่แช่น้ำจนโป่งพองดูคล้ายไข่กบ นกปล่อย หมายถึง ลอดช่องไทย ที่กดผ่านตะแกรงรู
หลุดลอดลงมาเป็นตัวคล้ายกับนกปล่อยของเสีย
มะลิลอย หมายถึง ข้าวตอก
ที่เป็นแผ่นแบบสีขาว ดูคล้ายมะลิลอยน้ำ
อ้ายตื้อ หมายถึง ข้าวเหนียวดำนึ่งสุก ขนมทั้งสี่ชนิดนี้
ใช้น้ำกระสายอย่างเดียวกันคือ “น้ำกะทิ” เคี่ยวกับน้ำตาลโตนด
เวลาเสิร์ฟจะเสิร์ฟเป็นถ้วย ๆ แยกกัน 4 ชนิด ซึ่งเราเรียกการเลี้ยงขนม 4 อย่างนี้ว่า “ประเพณีกิน 4 ถ้วย”
“ขนมไทย” เป็นขนมที่เกิดจากฝีมือล้วน
ๆ
เป็นของหวานที่มักทำและรับประทานกันในครัวเรือน มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ
มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ มีวิธีการทำ ที่พิถีพิถัน
รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ปราณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด
ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้น ๆ
ขนมไทยทั่วไปจะมีความหวานนำ หรือมีความหวานจนรู้สึกในลิ้นของผู้รับประทาน
การทำขนมไทยเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาและฝึกฝน ต้องใช้ศิลปะ วิทยาศาสตร์ ความอดทน
และความเป็นระเบียบ ความพิถีพิถันในการประกอบ
No comments:
Post a Comment